โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการควบคุมสมาธิ การจัดการเวลา และการตั้งใจทำงาน ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงโรคที่พบในเด็กเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โรคนี้มีผลกระทบต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ และการใช้ชีวิตประจำวัน
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีอาการอย่างไร ?
1. วอกแวกง่าย ฟังอะไรแล้วจับใจความไม่ค่อยได้
2. เบื่อง่าย รอคอยได้ไม่นาน นั่งอยู่เฉย ๆ นาน ๆ จะอึดอัด
3. ไม่สามารถบริหารจัดการเวลา ทำงานผิดพลาดบ่อย
4. ทำงานเสร็จไม่ทันกำหนด ชอบเลื่อนผัดวันประกันพรุ่ง
5. ขาดระเบียบวินัยในการทำงาน ไปทำงานสายประจำ
6. ขาดสมาธิจดจ่อในการทำงานงาน เหม่อลอย ชอบหลงลืม
7. หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำอะไรไม่ทันคิด
8. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย แต่หายเร็ว
9. เกิดปัญหากับคนรอบข้างบ่อย
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ สาเหตุเกิดจากอะไร ?
1. ปัจจัยทางชีวภาพ เกิดความผิดปกติในระบบประสาท รวมถึง ยังพบว่า พันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การสัมผัสความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมในระหว่างแม่ตั้งครรภ์ เช่น ได้รับสารตะกั่วหรือโลหะ การคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ รวมถึงการใช้แอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ของแม่
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีแนวทางการรักษาอย่างไร ?
1. การใช้ยาทางจิตเวช โดยยากลุ่มที่มีการออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ถือเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อที่จะสามารถปรับตัวหลีกเลี่ยงการกระตุ้นอาการสมาธิสั้นได้ เช่น
- จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบและวางเอาไว้อยู่กับที่
- ฝึกรอคอย สังเกตอารมณ์ของผู้อื่น รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- มีการวางแผนจัดตารางเวลาในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
- จดรายการสิ่งที่ต้องทำเอาไว้ล่วงหน้า ระบุเป้าหมายงานที่ต้องทำให้สำเร็จ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้เพียงเท่าที่จำเป็น