แชร์

โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) - สังเกตุอาการ อาการ การรักษา

อัพเดทล่าสุด: 29 ก.ย. 2024
116 ผู้เข้าชม

โรคซึมเศร้า มีอาการอย่างไร ?
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีลักษณะอาการบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก ในช่วงระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ โดยมีลักษณะอาการดังนี้


1.     มีอารมณ์เศร้า อยากร้องไห้แทบทั้งวัน และเป็นเกือบทุกวัน
2.     หมดความสนใจ รู้สึกว่าไม่สนุกกับกิจกรรมที่ปกติเคยทำในชีวิตประจำวัน
3.     เบื่ออาหารหรือความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการลดหรือเพิ่มน้ำหนัก
4.     มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป
5.     ขยับร่างกายช้าลง หรือกระสับกระส่ายจนอยู่ไม่นิ่ง
6.     เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่มีแรงกระตือรือร้นทำอะไร
7.     รู้สึกตนเองไร้ค่า รู้สึกผิดกับความล้มเหลวที่ผ่านมาและคอยโทษตัวเอง
8.     ขาดสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
9.     คิดถึงเรื่องการตาย พยายามที่จะฆ่าตัวตายหรือมีแผนการไว้


โดยอาการดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาน และมักจะเก็บตัวไม่ค่อยพูดจากับใคร ส่งผลให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง และความรับผิดชอบในการทำงานแย่ลง

 

โรคซึมเศร้า สาเหตุเกิดจากอะไร ?

1.     ปัจจัยทางชีวภาพ อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก
รวมถึงอาจเกิดจากพันธุกรรม โดยพบว่าหากมีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว ก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า
2.     ปัจจัยทางจิตสังคม อาจเกิดจากลักษณะนิสัยที่มองตนเองหรือมองโลกในแง่ลบ เห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง รวมถึงเกิดจากการมีเหตุการณ์ในชีวิต หรือความเครียดจากสภาพแวดล้อมบางอย่างมากระตุ้น เช่น ความเครียดจากการทำงาน ปัญหาครอบครัว การสูญเสียคนรักไปตั้งแต่ยังเด็ก
 
โรคซึมเศร้า มีแนวทางการรักษาอย่างไร ?


1.     การบำบัดจิตใจด้วยการทำจิตบำบัด
-        การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy - CBT) ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงความคิดเชิงลบ มีการปรับพฤติกรรมในแง่ลบของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และมีทักษะในการจัดการอารมณ์และทักษะในการแก้ปัญหาที่ดียิ่งขึ้น
-        การบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Therapy) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลอื่น โดยมุ่งเน้นปัญหาความสัมพันธ์ในปัจจุบันมากกว่าเรื่องราวในอดีต
2.     การใช้ยาทางจิตเวช โดยใช้ยาในกลุ่มยาต้านซึมเศร้า และยาในกลุ่มคลายกังวล เพื่อปรับความสมดุลของสารเคมีในสมองได้
3.     การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและหมั่นดูแลตัวเอง โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดอาการซึมเศร้าและปรับอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้นได้
4.     การสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อนสนิทหรือคนใกล้ชิด ส่งเสริมการสื่อสารที่ดีภายในครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว และพร้อมเผชิญหน้าและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังซึมเศร้าหรือไม่ ? ทำแบบทดสอบง่ายๆ เพื่อเช็คสุขภาพจิตของคุณกันค่ะ

ต้องการติดต่อสอบถามเพิ่่มเติม 

โทร  094-942-6459

ทักมาได้เลยเพื่อสอบถามเพิ่มเติม LINE@ 


อเวนิว รัชโยธิน ชั้น 3 อาคารสตาร์บัคส์  (ทางเชื่อมอาคารจอดรถ P3)

แผนที่ร้าน

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy